Skip links

มะเขือเทศอินทรีย์

มะเขือเทศราชินีอินทรีย์ เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ออนนิออร์แกนิคฟาร์ม กาญจนบุรีเราทำมาหลายปีล่ะแต่เรายังไม่เคยทำเป็นระบบปิดอย่างจริงจังซึ่งเราเลือกที่จะนำมาปลูกในโรงเรือนในรูปแบบอินทรีย์

การที่เรามีความสนใจในการปลูกมะเขือเทศกินสด อะไรคือการทำให้เราทำเป็นอินทรีย์ด้วยฟาร์มเรามีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีเกษตรซึ่งเราดูแลเองได้ครบวงจรจึงสามารถจัดการได้อย่างง่าย พร้อมทั้งมีการเก็บข้อมูลเอง

อดีตกับมะเขือเทศอินทรีย์ทานสด

ประสบการณ์จากการปลูกแบบเปิดคือ ปัญหาเรื่องวัชพืช ศัตรูตามธรรมชาติมาเติมเต็มให้เราครบ เช่น นก หนูแมลงทุกชนิดที่ชื่นชอบกับความหวานของมะเขือเทศอินทรีย์ทุกแบบ ผมเลยอยากที่จะแก้มืออีกรอบ 555

ระบบต่างๆที่เราทำแค่ให้น้ำก็ลูกออกแบบเต็มที่ เก็บกันไม่ทัน ปุ๋ยยังคงเป็นปุ๋ยหมักอินทรีย์ที่เราทำเอง ผมยังหลงไหลการทานผลมะเขือเทศ นำมาสู่การทำโรงเรือนเรียกได้เป็นระบบปิด ที่สามารถทำงานได้คนเดียวใน 3 โรงเรือน เรียกได้ว่าเรามีตัวช่วยคือระบบควบคุมอัตโนมัติที่เราวางระบบเอาไว้ให้ง่ายต่อการควบคุม เช่น ระบบน้ำ ระบบปุ๋ย ระบบระบายความร้อน และระบบจัดการโรคแมลง

ระบบอัตโนมัติทำงานคนเดียว

ทำงานในแปลงคนเดียวมีอะไรมาช่วยบ้าง การวางเราเริ่มจากดิน เป็นส่วนผสมที่ทางออนนิออร์แกนิคฟาร์ม เราศึกษามาหลายที่จนมาตกตะกอนออกิเป็น คือ ใบก้ามปูหมัก แกลบดิบ ทราย ขุยมะพร้าวสับ แหนแดง อัตรา 1:1:1:1 ซึ่งเรามีเพิ่มส่วนที่เป็นธาตุอาหารรองคือ โดโลไมท์และไตรโคเดอม่า ป้องกันรากเน่า ผสมไปพร้อมกันนิดหน่อยเพื่อจะได้ป้องกันไปเลย

การเพาะเมล็ด

ออนนิออร์แกนิคฟาร์มเราเลือกที่จะเพาะจากเมล็ดเป็นต้นกล้า อายุอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อให้รากเกิดความแข็งแรงก่อนที่ เราเลือกที่ปลูกในเวลาตอนเย็นในโรงเรือนเพื่อให้พืชตั้งตัวได้เร็วและแข็งแรงที่จะลงดินในโรงเรือนนั่นเอง

การให้น้ำ

การที่เราให้น้ำตั้งแต่ระยะเริ่มแรกโดยการให้ เป็นช่วงเวลาผ่านระบบควบคุม ผ่านน้ำหยดที่วางแผนไว้ จะให้ 3 ระยะ

  • ระยะก่อนออกดอกถึงติดลูก

ในเวลา 3 ช่วงเวลา เช้า กลางวันและเย็น หรือต้องตรวจสอบอุณหภูมิ จนกว่าลูกจะออกซึ่งเร่งการเติบโต

  • ระยะติดลูก

ยังคงให้ 3 ช่วงเวลาแต่จะลดปริมาณน้ำลง 10%เพื่อป้องกันลูกแตก

  • ระยะสุดท้าย

จะลดช่วงเวลาการให้น้ำเหลือ 2 ช่วงเวลา

ในกรณีที่เราให้น้ำหากอุณหภูมิสูงในโรงเรือนยังคงให้น้ำและระบายความร้อนด้วยพัดลม

การให้ปุ๋ย

การให้ปุ๋ยเราให้ทุกๆ 3 วัน โดยการให้ปุ๋ยชีวภาพหมักปลาและคั่วเหนียวที่เราทำเองจากหัวปลี รวมถึงน้ำส้มควันไม้ รวมถึงการให้ทางใบ  ส่วนการให้ไตรโคเดอร์มานั้นเราให้ทุกๆ 7-14 วัน

โรคและแมลง

เรามีการป้องกันด้วยโรงเรือนสำหรับเบื้องต้น ในกรณีอีกชั้นเราจะป้องกันด้วยสารล่อแมลง วางในแปลง อาจจะมีการพ่นป้องกันเชื้อราด้วยชีวภัณฑ์ บิวเบอเรีย ทุกๆ 7-14 วัน

การจำหน่ายและการแปรรูป

เรียกได้ว่าขายผลสดไม่พอ แต่เรายังคงที่อยากจะแปรรูปให้ได้ เช่น ซอสมะเขือเทศ หรือมะเขือเทศอบแห้ง การนำมาประกอบอาหารในออนนิออร์แกนิคฟาร์ม เช่น พิซซ่า สปาเกตตี้ สำหรับเด็กๆได้รับประทานในฟาร์มของเรานั่นเอง

เป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ในการทำฟาร์มมะเขือเทศที่สลับกับเมล่อนและมันญี่ปุ่นเพื่อที่จะได้หมุนเวียนพืชเพื่อไม่ให้เกิดโรคนั่นเองครับ

อินทรีย์มาตอนไหนดี

การทำเกษตรอินทรีย์เราไม่ได้แค่ทำตอนแรกหรือตอนท้ายแต่เราทำทุกขั้นตอนตั้งแต่การทำพื้นที่มีอะไรบ้างคร่าวๆนะครับไม่อยากให้สับสนมากเท่าไหร่

  • ทำโรงเรือนก่อนให้เรียบร้อยเป็นสิ่งป้องกันโรคและแมลง
  • เตรียมดินให้พร้อม จากการหมัก ต้องใส่ไตรโคเดอมา ไปด้วยเลย
  • ระบบน้ำต้องสะอาด เราใช้น้ำในดิน
  • การให้ปุ๋ยชีวภาพ สำหรับบำรุงและป้องกันแมลงเช่น น้ำหมักจาก พด และน้ำส้มควันไม้
  • การให้น้ำหมักปลาให้ความหวาน
  • การกำหนดน้ำให้เหมาะสมกับช่วงการปลูกและการเติบโต
  • การสำรวจแมลงด้วยตาตอนกลางวันและกลางคืน
  • การตัดแต่งกิ่ง
  • การเก็บเกี่ยวให้ระมัดระวัง การบรรจุ การแปรรูป อื่นๆ

กระบวนการอินทรีย์มาทุกขั้นตอนการผลิตมะเขือเทศสำหรับผลทานสดนะครับ

ออนนิออร์แกนิคฟาร์ม กาญจนบุรี

ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.nstda.or.th/agritec/tomato-organic-punboon/