การปลูกมะระแม้ว
สำหรับเราคนไทยแล้วการเลือกที่จะปลูกผักแต่ละอย่างเพื่อที่จะใช้รับประทานนั้น เราต้องเลือกว่าจะปลูกผักเพื่ออะไรหรือทำอะไร แน่นอนสำหรับผักสวนครัวเราต้องนำมาประกอบเป็นอาหารในครัวเราทำให้เราต้องเลือกอายุของผัก เพื่อให้สอดคล้องเมนูเราหรือสิ่งที่เราชอบเพราะว่า เราจะเริ่มดูแลในรูปแบบผักอินทรีย์อะไรประมาณนั้น
การที่เราคิดจะปลูกนั้น เราจะมีอะไรบ้าง?
- สายพันธุ์ที่เราจะปลูก
- อายุ
- การทำอาหาร
- การให้ปุ๋ยให้น้ำ ให้อาหาร
- การดูแลโรคแมลง
- พื้นที่ที่เราจะปลูก
แน่นอนสำหรับ Concept ของออนนิออร์แกนิคฟาร์ม กาญจนบุรี เราต้องเน้นที่เรียกว่า “ทำได้ง่าย กินง่าย” ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรในการทำการปลุกมะละแม้ว อ้าว!!!!! ผมลืมบอกประวัติเรื่องมะระแม้วนิดหน่อยว่าทำไม เราถึงได้นำมาปลูกเพื่อที่จะรับประทานยอดหรือผล ซึ่งออนิออร์แกนิคฟาร์ม เราก็สนใจเนื่องจากเป็นผักที่ปลูกง่าย กินง่าย แถวอร่อยอีกซึ่งครอบครัวเราชอบกินมากทุกคน การปลูกเพื่อที่จะเก็บยอดสำหรับมะระแม้วนี้นะครับ ทำได้ง่าย แต่เราต้องเสียสละเมล็ด นั่นคือทั้งลูกทำให้เพื่อที่จะให้เราได้กินลูกทั้งหมด
ฟักแม้ว (Chayote)
มีชื่อเรียกตามสภาพพื้นที่ เช่น ฟักแม้ว,มะระแม้ว,มะระหวาน อื่นๆ เยอะแยะลองไปหาดูกัน เป็นพืชถิ่นทางแมกซิโก เป็นไม้เถาเลื้อย นิยมทานได้หลายแบบ เช่นยอด ผล นำมาประกอบอาหารได้
การปลูก
เพราะเป็นไม้เถา และต้องการอุณภูมิต่ำ ซึ่งออนนิออร์แกนิคฟาร์มเราทำไม่ได้ ด้วยสภาพอากาศร้อน ที่กาญจนบุรี ทำให้เราต้องหาสายพันธุ์ที่ปลูกภาคกลาง อาศัยว่าให้เขาคุ้นเคยสภาพอากาศเพี่อที่จะได้นำมารับประทานกันเองก่อน การปลูกมะระแม้ว เราเก็บอายุประมาณ 6 เดือนผลออก ถ้ายอดเราเริ่มที่ สองเดือนเราก็ต้องเก็บยอดได้แล้ว ระบบการให้น้ำเรามีสม่ำเสมอ และที่สำคัญคือคุณค่าทางอาหารและเราเลือกที่จะปลูกระบบบ่อหรือรอง เพื่อที่จะควบคุมสภาพพื้นดินและโรคต่างๆ
การใช้ดิน
เราใช้ดินอินทรีย์ที่เราทำเอง เช่น เศษผักผลไม้ เศษใบไม้ มูลสัตว์ ซึ่งเราทำทุกกิจกรรม เน้นเป็นการหมักก่อนที่จะนำมาใช้
รายการอาหารสำหรับสายทานผัก
ผัดยอดมะระแม้ว
ผักลวกจิ้มน้ำพริก
ยำมะระแม้ว
ตำมะระแม้ว
เท่านี้เราก็มีอาหารทานหมุนเวียนแล้วครับ สำหรับออนิออร์แกนิคฟาร์ม เราก็ยังคงทำต่อไปเหมือนเดิม