Skip links

การทำนาหยอดข้าวอินทรีย์

  • การทำนาอินทรีย์กับพื้นที่เล็กๆ 100 ตรว.
  • การทำนาแบบละเอียดทุกขั้นตอนในการทำรูปแบบอินทรีย์100%
  • เทคนิคการทำนาเพื่อบริโภคเองภายในครอบครัว
  • การทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองและการใส่ฮอร์โมน สำหรับต้นข้าวที่กำลังออกรวง

…………………………………………

สำหรับคนที่ต้องการจะทำนาเหมือนผมที่ ออนนิออร์แกนิคฟาร์ม กาญจนบุรีแล้วผมว่าการทำนาในพื้นที่น้อยนั้นยากมากกว่าการที่ทำให้พื้นที่ เพราะเราต้องการที่จะคัดคุณภาพมากกว่าปริมาณในการทำงานให้ออกมาดี ข้าวสวย ปลอดสารเคมี มีปัจจัยหลายอย่างที่เราต้องทำ

ก่อนที่จะกล่าวถึงด้วยประสบการณ์การทำนา ผมก็เคยมาบ้างและเรียนรู้มาจากพ่อแม่ ด้วยความที่เราเป็นเด็ก ตจว ซึ่งปัจจัยในการใช้แรงนี้สบายมากๆ ยิ่งพื้นที่น้อยๆ อะไรที่ทำให้เราทำงานแล้วมีความสุข เราผ่านมาหมดแล้วสบายๆ

ด้วยปัจจุบันการทำนานที่ผมอยากจะทำไม่ใช่อย่างนั้นเหมือนกันกับในอดีตที่เราทำแล้วไปเลย ไม่เคยมีข้อมูลหรือการเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ใช้งานหรือการพัฒนางานของเรา รวมถึงการหาแหล่งข้อมูลสำหรับการเรียนรู้ก็มีน้อย ซึ่งปัจจุบันเราก็ยังเห็น เพราะอะไร ข้าวราคาตกต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง สิ่งเหล่านี้เราไม่เคยเอาข้อมูลในอดีตมาใช้แก้ปัญหากับงานทำนาเราจริงจัง ผลคือเราไปโทษรัฐบ้างล่ะ นโยบายต่างๆ ไม่ตอบสนองอารมณ์เรา แค่นี้ก่อนนะครับ

มาทำของผมก่อนที่จะทำผมเริ่มจากอะไรบ้าง

ข้อมูลการบริโภคข้าว

จริงๆ แล้วด้วยกระแสการบริโภคข้าวในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา มีสินค้าที่เรียกว่า ทดแทนออกมามากมาย เช่น เส้นข้าว เส้นแป้งต่างๆ ผัก รวมถึงการลดปริมาณคาร์โบไฮเดรต ให้เท่าที่ร่างการจำเป็นในการใช้งานเพราะถ้ามากเกินไปทำให้เป็นน้ำตาลหรือเกิดโรคได้ เช่น อ้วน ความดัน อื่นๆ การทานข้าวจึงเหลือ 109 กิโลกรัม ต่อ ปี ต่อคน อันนี้จากกรมการข้าวนะครับ แน่นอนมันมีผลต่อซับพลายเชน เช่นการส่งออก สต๊อกที่เหลือในประเทศต่อไปอีก อันนี้ค่อยมาว่ากัน

ดังนั้น ค่าร้อยกว่ากิโลกรัม ข้าวที่ผลิตได้ 1 ไร่ได้ 300-400 กิโลกรัม น่าจะเพียงพอ สำหรับครอบครัวของผมเป็นอย่างยิ่ง แต่ทีนี้ด้วยปัญหาที่ว่า เรามีพื้นที่จำกัด ทำให้เราต้องทำการแบ่งพื้นที่ไปในส่วนต่างๆ และเหลือพื้นที่ในการทำนาแค่ 1 งานหรือ 100 ตรว. จึงเป็นการอยากอย่างยิ่งที่จะทำให้ได้แค่พอบริโภคสำหรับครัวเรือน แต่ก็น่าทดลองเป็น 2-3 รอบการผลิตแบบอินทรีย์

เมื่อผมได้เป้าหมายแล้วก็เลยอยากที่จะทำการทดลองด้วยตัวเองก่อนเอาให้รอด แค่เรียนรู้และปรับตามสภาพความเป็นไปตามธรรมชาติ โดยทั่วๆ ไป ออนนิออร์แกนิคฟาร์มค่อนข้างจะอยู่พื้นที่เปิด ทำให้มีปัญหาดังนี้

  • ลมแรงมาก
  • มีนกพร้อมที่จะกินเมล็ดข้าวเพียบ
  • พื้นที่โล่ง น้ำไม่ขังมาก
  • แค่นี้ล่ะครับที่เราต้องเอาชนะให้ได้หรือทำการแก้ปัญหาให้ได้มากที่สุด

เป้าหมาย คือ ปลูกวันแม่ให้ได้เกี่ยวข้าววันพ่อ ธันวาคม 2562

การเตรียมดินสำหรับออนนิออร์แกนิคฟาร์มกาญจนบุรีแล้วเราทำการเตรียมดินตั้งแต่ปลูกปอเทือง แล้วก็ปรับสภาพดินเรื่อยมา จนก่อนที่จะทำการปลูกข้าวอินทรีย์แบบนาหยอด

มาเริ่มกันเลยดีกว่า…

4 สิงหาคม 2562

การเตรียมดินด้วยการโรยปุ๋ยหมักมูลสัตว์
การโรยแกลบดิบเพื่อเพิ่มความร่วนซุยในดิน

เริ่มใส่ปุ๋ยคอกหมักสำหรับปรับสมดุลในดินและทำการใส่น้ำหมักชีวภาพ มะนาวและหน่อกล้วยผสมกัน ลงใส่ในพื้นที่แล้วไถกลบเพื่อให้เกิดการย่อยสลายในพื้นดิน

น้ำหมักชีวภาพมะนาวและหน่อกล้วย

12 สิงหาคม 2562

เมล็ดพันธุ์ข้าวที่แช่น้ำแล้วหมักไว้ 1 คืน

เราเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวนาปี หอมมะลิ 105 แช่ก่อนวันที่จะทำการหยอด 1 วัน เพื่อที่จะช่วยให้เมล็ดเตรียมพร้อมที่จะแตกรากก่อนที่จะหยอด

เริ่มทำการหยอดด้วยผมกับครอบครัว โดยการทำเครื่องหยอดข้าวด้วย ท่อ PVC จะได้สนุกและเรียนรู้ไปพร้อมกัน อุปกรณ์หยอดข้าวมีดังนี้

ที่ยอดข้าวทำจากท่อ PVC

การหยอดโดยการวางแนวและจับระยะห่างของต้นข้าวไปด้วยเลย เพื่อป้องกัน นก กับแมลงมากินเมล็ดข้าวอินทรีย์ของเรา โดยที่เราสอนกันแบบตัวต่อตัว กับเจ้านาย

เราเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวนาปี หอมมะลิ 105 แช่ก่อนวันที่จะทำการหยอด 1 วัน เพื่อที่จะช่วยให้เมล็ดเตรียมพร้อมที่จะแตกรากก่อนที่จะหยอด ผมเริ่มหยอดตั้งแต่เช้าซึ่งมากันทั้งครอบครัว เป็นกิจกรรมที่ดีมากเลย สำหรับผมนะ ได้ทำอุปกรณ์ให้ลูก เพื่อให้เขาซึมซับการทำข้าวไม่รู้ว่าจะมีโอกาสได้ทำอีกเมื่อไหร่ แต่ที่เราทำงานช้า เป็นนาหยอดที่สำคัญคือ “ที่ตีเส้นเพื่อกะระยะ นี่ละครับผม”เอาตามแนวผมที่กะก็แล้วกัน เพราะหยอดไปแล้วไม่รู้ว่าตรงหรือเบี้ยวอย่างไรก็ช่างมันเหอะครับ หยอดไปเล่นไปด้วยกัน เม็ดข้าวเปลือกลงไปมากน้อย

ช่วงบ่ายๆ แม่เจ้า!!!! ทำงานเสร็จปรากฏว่า ฝนตกพอดี แบบไฟแร็บ กันเลยก็ว่าได้

18 สิงหาคม 2562

ต้นข้าวที่เราปลูกกันมีความแข็งแรงและงอกได้อย่างสมบูรณ์ มีความสูงประมาณ 6 cm ยังไม่ให้น้ำนอกจากน้ำฝนตามธรรมชาติเท่านั้น ไม่ใช่แค่อยากที่จะสื่อสารเท่านั้นแต่ยังบอกว่า “เฮ้ย! มันรอดด้วยมือที่เราปลูกมาได้ไงล่ะเนี่ยะ” เพราะตั้งแต่เกิดมาไม่เคยทำแบบเต็มระบบอย่างนี้มาก่อนเลยค้าบ

8 กันยายน 2562

หลังจากนั้นผมก็เริ่มให้น้ำเมื่อต้นข้าวได้อายุ ประมาณ 1 เดือน เพื่อเป็นการเร่งการเจริญเติบโต แต่ก่อนที่เราจะให้น้ำนั้นผมได้ทำการดายหญ้าก่อนเพี่อไม่ให้ต้นหญ้าไปแย่งอาหารจากต้นข้าว ใช้เวลาแค่งานเดียวไม่ 2 วันมันโคตรเหนื่อยเลยครับ ไม่รู้ว่าทำงานแบบนี้มันเหนื่อยมากซึ่งมันจับแต่จอบไม่สามารถหาอุปกรณ์อื่นได้อีกนอกจากมือเท่านั้น

23 กันยายน 2562

เราให้ปุ๋ยในระยะแรก เนื่องจากเราไม่ค่อยมีเวลา ปุ๋ยที่ผมทำแล้วก็เติมด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วยในสวนของเราเอง ซึ่งทำได้ง่าย เมื่อก่อนที่เราจะให้ปุ๋ยอินทรีย์ข้าวนั้น ผมได้ทำการผสมจุลินทรีย์หน่อกล้วย ซึ่งผมใช้ประมาณ 3 กระสอบ

27 ตุลาคม 2562

ก่อนที่ข้าวจะออกรวงระยะที่เรียกได้ว่า “ข้าวตั้งท้อง” ทำให้เราต้องเฝ้าแบบอย่างระมันระวังโชคดีที่เราไม่มีเรื่องโรคข้าวมาก เพราะว่าเราใช้เชื้อไตรโคเดอมา ผสมกับปุ๋ยคอกรองพื้นไปเรียบร้อยแล้ววันนี้อัตราส่วนที่เราทำก็เหมือนกันกับครั้งแรก เพราะเราจะให้ข้าวได้ปุ๋ยที่จำเป็นต่อการตั้งรวงข้าว

3 พฤศจิกายน 2562

วันนี้เป็นวันที่ผมตื่นเต้นมากเพราะเราไม่เคยหรือผมไม่เคยที่จะได้ทำนาแบบเฝ้าระวังเป็นอย่างนี้มาก่อนเนื่องจากตอนเด็กๆ เรายังไม่ได้สัมผัสแบบลงมือทำแบบ 100% อย่างนี้มาก่อนเลย เพราะเราเห็นรวงข้าวที่ออกดอกมา ผมได้กลิ่นหอมของดอกข้าวที่กำลังจะออก แน่นอนการให้ปุ๋ยช่วงนี้เป็น ผมทำฮอร์โมนจากน้ำหมักผลไม้ที่ได้จากในสวนของเราเอง คือ มะละกอสุกและกล้วยสุก ผสมกัน พด.2 และกากน้ำตาล

เราพ่นในตอนเย็นเนื่องจากต้องการให้จุลินทรีย์เกาะไปที่ใบและรวงข้าวนั่นเองทำให้ได้รับวิตามินอินทรีย์ที่เราทำขึ้น แต่ที่น่าเสียดายคือผมไม่สามารถที่จะให้อีกรอบได้เนื่องจากไม่สะดวกเรื่องเวลาที่เราจะมาทำการพ่น ได้แต่เติมระบบน้ำให้ทำงาน รอบที่เราก่อนจะเก็บเกี่ยว ต้องงดน้ำเพื่อที่จะได้ทำการเก็บเกี่ยวได้ง่ายครับ

16 พฤศจิกายน 2562

งดให้น้ำและปล่อยให้น้ำแห้งตามธรรมชาติ ตอนนี้ต้นข้าวเหลืองและกำลังสุก แต่ปัญหาที่ผมเจอคือนกที่มากินทำให้เราต้องหาวิธี แต่เราเลือกที่จะไม่ทำร้ายนกคือการทำหุ่นไล่กา ไม่ใช่ว่าจะไม่กินนะครับแต่แค่บรรเทาแค่นั้นเอง เมื่อตอนเก็บเกี่ยวจริงๆ ผมเห็นเปลือกเม็ดข้าวเต็มพื้นนาอยู่เลย

30 พฤศจิกายน 2562

วันนี้เป็นวันที่เราเกี่ยวข้าวเป็นวันแรก เนื่องจากพื้นที่น้อย ผมและครอบครัว ได้เวลาที่จริงเราอยากที่จะเกี่ยวข้าวันพ่อ ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเราไม่สะดวกเพราะต้องตากแดดและเก็บฟางอีกเพื่อให้ได้เมล็ดข้าวที่ยังคงใหม่และสด

5 ธันวาคม 2562

เป็นวันนวดข้าวเพื่อที่จะเอาข้าวเปลือกออกจากต้นข้าวหลังจากการที่เราตากแดดและลมมาประมาณ 1 อาทิตย์ น่าจะแห้งพอได้แล้วล่ะครับ

ผลที่ได้ออกมาได้ 1 กระสอบซึ่งเราทำใช้ข้าวปลูกประมาณ ½ กิโลกรัม ทำไมมันมีความสุขแบบที่เราบอกไม่ถูกเมื่อเราเห็นข้าวเปลือกที่เราทำออกมาเป็นเมล็ดสวยงาม ซึ่งออนนิออร์แกนิคฟาร์มเราได้สีเป็นข้าวกล้อง เพราะเราอยากได้เมล็ดที่มีคุณภาพจากงานที่เราทำพร้อมระยะเวลา

เมื่อเราได้ข้าวเปลือกที่สำคัญมันไม่ได้แค่บอกทำได้ผลเป็นอย่างไรหรือเท่าไหร่ สำหรับผมเห็นว่าคนหรือครอบครัวของแต่ละท่านก็สามารถทำได้หากคิดอยากที่จะทำอะไร เพียงเพื่อที่จะให้บรรลุและไม่รู้ว่าผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร

กว่าจะมาเป็นข้าวแลกด้วยระยะเวลาและอดทน เป็นอย่างมากดังนั้นมันสอนอะไรบ้าง

  • การอดทน เรื่องการทำงานให้เสร็จตามฤดูกาล
  • รอคอย การเจริญเติบโตของข้าวแต่ละระยะในการเติบโต
  • เอาใจใส่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพันธุ์ การดูแล เห็นเขาเจริญเติบโต
  • การแก้ปัญหา เพราะการทำนาไม่ว่าจะดีเลิศประเสริฐศรีอย่างไร ก็เกิดปัญหาได้หมด
  • การแปรรูป เมื่องานแล้ว ไม่ใช่ว่าเราจะทานได้เลย ต้องเอามานวด และสีเป็นข้าวสารและสุดท้ายเป็นข้าวสุกให้เรารับประทาน

อันนี้แค่บางส่วนที่ทำให้เราเข้าใจระบบการทำนา มีทั้งศาสตร์และศิลป์ ในระยะเวลาที่กำหนด

ขอบคุณครับ ออนนิออร์แกนิคฟาร์ม