การทำฮอร์โมนจากผลไม้สุก
การทำฮอร์โมนจากผลไม้สุก เช่น กล้วย มะละกอ ฟักทอง อื่นๆ
เช่น ผลไม้สุกก็เหมือนกันเราก็หาวิธีการมาทำเพื่อที่จะใช้นาของเรา สำหรับการทำฮอร์โมนผลไม้นั้น สำหรับการทำเกษตรอินทรีย์ผมว่ามีความจำเป็นอย่างมากเพราะเราไม่ได้ใช้เคมีทุกอย่างซึ่ง ในความเป็นจริงต้นพืชยังคงมีความธาตุอาหารหลักและอาหารรองในการเจริญแต่ละช่วงของต้นพืช ซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไป
การทำฮอร์โมนจากผลไม้สุกดีอย่างไร?
เนื่องจากฮอร์โมนที่ผ่านการหมักธรรมชาติทำให้ช้ากว่าจะย่อยสลาย ดังนั้นการที่เราช่วยเร่งให้เกิดการย่อยสลายทำให้นำให้ฮอร์โมน เช่น ออกซิน (auxin) จิบเบอร์เรลลิน (gibberllin) นอกจากฮอร์โมนดังที่กล่าวมาแล้วนั้นมีอีกหลายอย่างนะครับ เช่น จุลินทรีย์ที่ประกอบด้วย ราและแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ หรือฮิวมิก แอซิค อื่นๆ ผมแค่ให้มองเห็นว่าที่เราทำไปแล้วหรือกำลังจะทำมีประโยชน์
ประโยชน์การทำจุลินทรีย์จากผลไม้สุก
นำไปเร่งการออกดอกพืช บำรุงต้นพืชระยะตั้งท้องซึ่งผมทำไว้ใช้กับนาข้าว ในฟาร์มระยะนี้โดยเฉพาะ เพราะเราทำแบบอินทรีย์
ทีนี้เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
- กล้วยน้ำหว้าสุกงอม (เหลือไว้หลายวันยังไม่มีเวลาทำ) 1 ส่วน
- มะละกอ (เก็บแบบเอามาจากต้นบางส่วนให้ปลากิน) 1 ส่วน
- พด.2 ขอจากพัฒนาที่ดินจังหวัด 1 ซอง
- กาน้ำตาล เทใช้วันแรกและอีก 3 วัน 2 แก้ว
- น้ำสะอาด ไม่ต้องเยอะให้มาเติมอีกวันที่ 3 1 ส่วน
วัสดุใส่ เช่น ถังที่มีฝาปิด เพื่อให้เกิดการหมัก
วิธีการทำ
สับกล้วยมะละกอให้ละเอียด เพราะถ้าสับละเอียดดียิ่งทำให้การย่อยสลายได้เร็ว ใส่กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดงก็ได้ และ พด.2 (ในกรณีไม่มีให้ใช้แป้งข้าวหมาก) ซึ่งก็ได้ทำให้ง่ายและหาได้ง่ายในวัสดุท้องถิ่นของเราเอง
เท่านี้เราคลุกให้เข้ากันและหมักไว้ พอวันที่ 3 ให้มาเติมน้ำกับกากน้ำตาลส่วนที่เหลือและพยายามสังเกตว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร เช่น กลิ่นหรือราขาวที่ทำงานในถัง
ข้อสังเกตว่าใช้งานได้แล้ว
- มีการเจริญของจุลินทรีย์น้อยลง
- มีกลิ่นแอลกอฮอร์น้อยลง
- มีกลิ่นเปรี้ยวเพิ่มขึ้น
- ไม่ปรากฏฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือมีน้อยมาก
- ได้สารละลายเป็นของเหลวสีน้ำตาล
- ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำหมักชีวภาพอยู่ระหว่าง 3-4
การใช้งาน
สำหรับออนนิออร์แกนิคฟาร์มกาญจนบุรี เราทำและใช้งานจริง เมื่อได้เวลาตามที่เรากำหนดคือประมาณ 7 วัน เราก็นำมาใช้งานกับนาข้าวของเราเอง เป็นการเพิ่มฮอร์โมนให้กับพืชของเราเอง
ทางดิน
เราให้ปริมาณ 3-5 ลิตร สำหรับพ่นทางดินที่ผสมกับน้ำ
ทางใบ
เราให้ปริมาณ 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
แต่สำหรับคนที่เอาไปพ่นอย่างอื่นผมแนะนำให้ใช้ปริมาณน้อยๆ ก่อนนะครับ เนื่องจากสภาพของพืชมีความแตกต่างกันและเวลาที่เราจะให้เป็นเวลาในตอนเย็นดีสุด ผมไม่แนะนำให้ตอนเช้า เพราะยังไงก็ไม่รอดที่จุลินทรีย์จะตายจากสภาพอากาศที่ร้อน
ซึ่งออนนิออร์แกนิคฟาร์มเราก็ทำมาเรื่อยๆ จนจบเหมือนกัน สำหรับคนที่สังเกตว่าน้ำหมักของตัวเองนั้นมีความแตกต่างมากผมแนะนำให้เติมน้ำตาลเพิ่มได้เพื่อให้เกิดการย่อยสลาย สูตรการทำผมว่าเป็นสูตรที่หาได้ทั่วไปซึ่งเป็นการนำไปประยุกต์ใช้เล็กๆน้อยๆ หากผิดก็ทำใหม่ลองดูสูตรใหม่ที่ตัวเองสะดวกทำหรือพร้อมทำ