แหนแดง ธาตุไนโตรเจนจากธรรมชาติ
เราคงเห็นและได้ยินว่าแหนแดงตามสื่อต่างๆ ว่าประโยชน์ล้ำเลิศ ต่างๆนานา ที่เราจะเห็นเวลาสไลด์หน้าจอผ่านสำหรับเกษตรกรอดที่จะกดเข้าไปดูไม่ได้ ผมก็เป็นหนึ่งในนั้น
เข้ามาเจอแหน
อะไรคือแหนแดงแตกต่างกันกับแหนอย่างอื่น จากข้อมูล แหนแดง (Azolla spp.) ซึ่งเป็นเฟินขนาดเล็กอย่างหนึ่ง แต่ที่ใบของแหนแดงนี่แหละมันยังมี สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Cyanobateria)ซึ่งสามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศมาสะสมในใบได้ และที่สำคัญมันสามารถปล่อยไนโตรเจนได้เร็ว แต่ยังไม่สู้ปุ๋ยยูเรียนั่นแหละ
สรุปว่า “มันเอาไนโตรเจนมาเก็บด้วยตัวมันเอง แต่มันตายจะปล่อยออกไปให้กับพืชชนิดอื่นได้ใช้งาน เรียกว่าใช้แทนกันเหมือนปุ๋ยยูเรียนั่นเอง”
เอามาแหนแดงใช้ได้อย่างไร
นำมาทำในรูปปุ๋ยพืชสด หมัก ได้เลย แน่นอนเอาไปผสมกับปุ๋ยอินทรีย์อันอื่นก็ได้ดีนะ เช่น ขี้วัว ขี้หมู ขี้ไก่ แกลบ วัสดุอื่นๆ อยากที่จะใช้งานเลยคือการเตรียมปลูกผักเพื่อทดแทนปุ๋ยยูเรียได้เลย ปริมาณมากหน่อย เช่น ผักกินยอด ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า อื่นๆ
ทำปุ๋ยพืชอินทรีย์ ออนนิออร์แกนิคฟาร์ม “เราก็มีส่วนผสมในการทำปุ๋ยอินทรีย์นอกจากใบก้ามปูซึ่งมีอัตราการย่อยสลายช้ากว่าแหนแดงนั่นเองแต่ปริมาณที่เราทำนั้นยังมีน้อย ซึ่งไม่เพียงพอต่อการขยายตัวยังคงต้องทำให้ได้เยอะๆ ก่อน”
อาหารสัตว์ ออนนิออร์แกนิคฟาร์มเรานำมาเป็นส่วนผสมอาหาพืชสดในรำ ข้าวเปลือกเพื่อเป็นอาหารเสริมให้กับไก่โคโรเนชั่นและไก่แรดโอ๊ค(ไก่ไข่) ในฟาร์มนั่นเอง
คนเลี้ยงแหนแดง
ทำได้เลยด้วยการไปหาในนาหรือหนองครองบึง ง่ายสุดก็จากอินเตอร์เนต สั่งมาปลูกเลี้ยงกันได้ง่าย ซึ่งปลูกแหนแดงไม่ใช่ปล่อยให้มันอยู่ตามมีตามเกิดนะครับ หากเราอยากที่จะใช้ประโยชน์จากแหนแดงของเราเอง
- พื้นที่น้ำตื้นไม่ลึก
- ใช้น้ำสะอาด เช่นน้ำฝน ความจริงก็น้ำที่เรามีก็ได้
- ให้ปุ๋ยขี้วัว
- หากหนาแน่นให้ตักออกไปทำปุ๋ยเลยไม่ต้องสนใจอะไร
Trick:
- เลี้ยงแหนแดงต้องให้น้ำนิ่ง มีตลอด ไม่งั้นไม่รอดและมีดินปุ๋ยบ้างผิวบ่อ
- การแปรรูปในรูปปุ๋ยพืชสดได้จะดีที่สุด
- เรียนรู้ปุ๋ยอินทรีย์อื่นๆบ้างนอกจากแหนแดงหากมันไม่ดีมากสำหรับพืชสวนของเรา
ออนนิออร์แกนิคฟาร์ม กาญจนบุรี